บันทึกอนุทินครั้งที่ 3
บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อ.ตฤณ แจ่มถิน
วันที่ 21 พฤศจิกายน 2556
ครั้งที่ 3 เวลาเรียน 08.30 - 12.20 น
วันนี้อาจารย์ได้นำรูปสามเหลี่ยมมาให้นักศึกษาได้ดูกัน
ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
1. การสังเกต
คือ การใช้ประสาทสัมผัสอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างรวมกันในการเรียนรู้ โดยเข้าไปมีปฎิสัมพันธ์โดยตรงกับวัตถุสิ่งของหรือเหตุการณ์อย่างมีจุดมุ่งหมาย
2. การจำแนก
คือ การแบ่งประเภทสิ่งของโดยหาเกณฑ์หรือสร้างเกณฑ์ในการแบ่งขั้น เกณฑ์ในการจำแนก คือ ความเหมือน ความแตกต่าง
3. การเปรียบเทียบ
คือ เด็กต้องอาศัยความสัมพันธ์ของวัตถุ สิ่งของหรือเหตุการณ์ตั้งแต่ 2 สิ่งขั้นไป เด็กจะต้องมีความเข้าใจลักษณะเฉพาะของสิ่งของนั้นๆ
4. การจัดลำดับ
คือ เป็นทักษะการเปรียบเทียบขั้นสูง เช่น การจัดลำดับ วัตถุ สิ่งของหรือเหตุการณ์
5. การวัด
คือ มีความสัมพันธ์กับความสามารถในการอนุรักษ์ การวัดสำหรับเด็กปฐมวัย ได้แก่ ระยะทาง เวลา ความยาว ความหนัก ปริมาณ
การวัดของเด็กปฐมวัยไม่ใช้หน่วยมาตราฐานในการวัด
6. การนับ
คือ เด็กจะชอบนับโดยการท่องจำโดยไม่เข้าใจความหมาย แต่ถ้าจะให้เด็กเข้าใจต้องให้เด็กนับโดยมีจุดมุ่งหมาย เช่น การนับคน การนับเพื่อนในห้อง การนับนิ้วมือ
7. รูปทรงและขนาด
คือ เด็กส่วนใหญ่จะมีความรู้เกี่ยวกับรูปทรงและขนาดก่อนเข้าเรียนอยู่แล้ว
จากนั้นอาจารย์ให้นักศึกษาทำกิจกรรม
โดยอาจารย์ให้นักศึกษาวาดรูปวงกลม แล้วเขียนตัวเลขลงไป จากนั้นก็ให้ทำเป็นรูปดอกไม้นำกระดาษสีมาแปะเป็นกลีบดอกไม้แล้วตกแต่งให้สวยงาม